การประชุมติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานเรื่องการบุรุกพื้นที่ของรัฐในเขตอำเภอเขาคิชญกูฏ จังหวัดจันทบุรี

เมื่อวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุม ชั้นที่ 2 ที่ว่าการอำเภอเขาคิชญกูฏ คณะทํางานติดตามการแก้ไขปัญหาบุกรุก

พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี ในคณะกรรมาธิการการบริหารราชการ แผ่นดินวุฒิสภา โดยมีนายพลพจน์ กิจชัยสวัสดิ์ พร้อมคณะทำงานฯ ประกอบด้วย นายจารึก ศรีอ่อน ดร.สุวิชาณ สุวรรณาคะ นายสุรินทร์ สินรัตน์นางสาวภิณญาภัค บัวดิษ นายธีรยุทธ บุปผาชาติ นายพรชัย สุนทรเวชพงษ์ และดร.โนชญ์ ชาญด้วยกิจ นายกสมาคมนักข่าวระยอง ตัวแทนสื่อมวลชน

พร้อมด้วย นางสาวธิติกมล สุขเย็น นายอำเภอเขาคิชญกูฏ ผู้แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังจันทบุรี หัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดจันทบุรี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดจันทบุรี ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ร่วมประชุมพร้อมเพรียงกัน

 

สืบเนื่องจากคณะทำงานติดตามการแก้ไขปัญหาบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดินวุฒิสภา ได้ติดตามข้อมูลความคืบหน้า การแก้ไขปัญหาเรื่อง การบุกรุกที่ดินของรัฐ ในเขตอำเภอเขาคิชญกูฏ จังหวัดจันทบุรี มีการแจ้งสภาพปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน ที่ห้ามขุดสระน้ำ และโค่นต้นยางพาราที่หมดสภาพการให้น้ำยางในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่คณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัดยังดำเนินการอยู่ในขั้นตอนจัดสรรรายชื่อ

เนื่องจากปัจจุบัน จังหวัดจันทบุรีเข้าสู่ฤดูกาลผลไม้ และเป็นฤดูร้อน เกษตรกรจึงมีความจำเป็นต้องใช้น้ำมากในการบำรุงรักษาต้นทุเรียนโดยการขุดสระน้ำ เพื่อนำน้ำมาใช้ในสวนผลไม้ มีช้างป่าเข้ามาในเขตที่ทำกิน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวสวน และในที่ประชุมได้มีการนำเสนอรายละเอียดของสภาพปัจจุบันปัญหา อาทิ เรื่อง

1.สภาพการใช้พื้นที่ คทช และอื่น ๆ ได้จำนวนกี่ไร

2.จำนวนพื้นที่ป่าทุกประเภทมีจำนวนพื้นที่ที่ถูกบุกรุก พฤติกรรมการบุกรุก อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานใด

3.การแก้ไขปัญหาอื่น ๆ.ในบางพื้นที่ เช่นเกษตรกรไม่สามารถตัดโค่นต้นยางพาราที่หมดอายุได้ ไม่สามารถขุด ขยายสระน้ำเพื่อการเกษตรได้

4.ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขปัญหา และผลที่เกิดจากการแก้ไขปัญหา ต้องการได้รับความช่วยเหลือ และสนับสนุนการทำงาน จากวุฒิสภา อย่างไร

5.กระบวนการฟื้นฟู การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ถูกบุกรุก หลังดำเนินการแก้ปัญหา มีมาตรการและแนวทางในก่รป้องกัน ไม่ให้เกิดการบุกรุก ในพื้นที่อีกต่อไป

 

คณะทำงานติดตามแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จังหวัดระยอง และจังหวัดจันทบุรี ได้มอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในประเด็นปัญหา เป็นผู้ตอบในรายละเอียดที่รับผิดชอบ จากนั้นมีการซักถามข้อสงสัย ข้อกังวล พร้อมได้ให้คำแนะนำ และข้อเสนอแนะ ข้อห่วงใย โดยยึดหลักตามระเบียบข้อกฎหมาย เป็นแนวปฎิบัติ เพื่อนำปัญหาและอุปสรรคเรียนต่อทางคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา ได้หาแนวทางแก้ไขต่อไป

 

ดร.โนชญ์ ชาญด้วยกิจ/รายงาน